วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

ASEAN

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Asean)
สมาคมประชาชาติ
แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คำขวัญ"One Vision, One Identity, One Community"
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)
เพลงสดุดีดิอาเซียนเวย์
MENU
0:00
สำนักงานใหญ่อินโดนีเซีย จาการ์ตาอินโดนีเซีย
ภาษาทางการ
ชื่อเรียกประชาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รัฐสมาชิก
การปกครององค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค
 - เลขาธิการเวียดนาม เล เลือง มิญ
 - ประธานการประชุม พม่า
ก่อตั้ง
 - ปฏิญญากรุงเทพ8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 
 - กฎบัตรอาเซียน16 ธันวาคม พ.ศ. 2551 
พื้นที่
 - รวม4,479,210.5 ตร.กม.
2,778,124.7 ตร.ไมล์ 
ประชากร
 - 2553 (ประเมิน)601 ล้าน 
 - ความหนาแน่น135 คน/ตร.กม.
216 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ)2554 (ประมาณ)
 - รวม3.574 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ[2] 
 - ต่อหัว5,930 เหรียญสหรัฐ 
จีดีพี (ราคาตลาด)2554 (ประมาณ)
 - รวม2.356 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ 
 - ต่อหัว3,909 เหรียญสหรัฐ 
HDI (2556) 0.669 (ปานกลาง
สกุลเงิน
เขตเวลาเวลามาตรฐานอาเซียน(UTCUTC+9 - UTC+6:30)
โดเมนบนสุด
เว็บไซต์ทางการ
http://www.asean.org/
รหัสโทรศัพท์
1หากถือว่ากลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นรัฐเดียว
2Selected key basic ASEAN indicators
3อัตราการเติบโตของประชากรอยู่ที่ 1.6% ต่อปี
ทำเนียบเลขาธิการอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษAssociation of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,670 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน[3] ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี อาเซียนมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ[1]
อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพ อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ[5] หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น[6] เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558[7]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น