วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

Twitter

ทวิตเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Twitter)
บทความนี้เกี่ยวกับเครือข่ายออนไลน์ สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดูที่ ทวีตเตอร์
ทวิตเตอร์
ประเภทไมโครบล็อก
วันที่ก่อตั้ง21 มีนาคม 2006[1]
สำนักงานใหญ่ซานฟรานซิสโกรัฐแคลิฟอร์เนีย,สหรัฐอเมริกา[2]
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
ผู้ก่อตั้งแจ็ก ดอร์ซีโนอาห์ กลาส,
อีแวน วิลเลียมส์บิซ สโตน
บุคคลสำคัญแจ็ก ดอร์ซี (ประธาน)
ดิก คอสโตโล (กรรมการผู้จัดการ)
อุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต
เจ้าของทวิตเตอร์
ลูกจ้าง900+ คน (พ.ศ. 2555)[3]
เว็บไซต์twitter.com
เขียนด้วยจาวาสคริปต์,[4] รูบี,[4] สกาลา,[4]จาวา[4][5]
อันดับอเล็กซา 12 (May 2013)[6]
ประเภทเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์กไมโครบล็อก
การลงทะเบียนจำเป็น
ผู้ใช้200 ล้านคน (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556)[7]
ภาษาที่มีอินเทอร์เฟซภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น
รองรับเนื้อหาข้อความหลายภาษา
ทวิตเตอร์ (อังกฤษTwitter) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ โดยเรียกการส่งข้อความนี้ว่า ทวีต (อังกฤษTweet) ซึ่งแปลว่า เสียงนกร้อง
ทวิตเตอร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 โดย แจ็ก ดอร์ซี, บิซ สโตน และอีวาน วิลเลียมส์ เจ้าของบริษัทอ็อบวีโออุส[8] และต่อมาในเดือนกรกฎาคม ก็ได้เปิดตัวเว็บไซต์สังคมออนไลน์ ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมจากทั่วโลก โดยมีผู้ใช้ที่ลงทะเบียนเข้าใช้มากกว่า 500 ล้านคนในปี พ.ศ. 2555 รวมไปถึงมีทวีตมากกว่า 340 ล้านทวีตต่อวัน และมีการค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์มากกว่า 1,600 ล้านครั้งต่อวัน[9][10][11] นับตั้งแต่วันเปิดตัว ทวิตเตอร์เป็นเว็บไซต์ 1 ใน 10 อันดับที่มีผู้เข้าใช้งานมากที่สุด โดยได้รับการขนานนามว่าเป็นเว็บไซต์สำหรับการส่งบริการข้อความสั้น บนอินเทอร์เน็ต[12][13] ซึ่งในภายหลัง นอกจากที่จะสามารถทวีตบนเว็บไซต์แล้ว ได้มีการเปิดให้ใช้งานการส่งทวีต ด้วยการส่งบริการข้อความสั้น (SMS) และบนโปรแกรมประยุกต์ ในโทรศัพท์มือถือ และสมาร์ตโฟน[14]
ตัวระบบซอฟต์แวร์ของทวิตเตอร์ เดิมพัฒนาด้วย รูบีออนเรลส์[15] จนเมื่อราวสิ้นปี ค.ศ. 2008 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ภาษา Scala บนแพลตฟอร์มจาวา[16]
โลโก้ของทวิตเตอร์ ค.ศ.2006-2010
โลโก้ของทวิตเตอร์ ค.ศ.2010-2012
ค.ศ. 2009 ทวิตเตอร์ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างมาก จนนิตยสารไทม์ ฉบับวันที่ 15 มิ.ย. 2009 ได้นำเอาทวิตเตอร์ขึ้นปก เป็นเรื่องเด่นประจำฉบับ และบทบรรณาธิการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงการนำเสนอข่าว ที่มีที่มาจากเทคโนโลยีใหม่อย่างทวิตเตอร์[17]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น